วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562


ธนภรณ์ อึงฤทธิเดช tnanaphos-blog.blogspot.com
ศุภกร เหลืองอ่อนSuphakon3058.blogspot.com
เปมิกา ถิ่นวัฒนากลูpemika2549.blogspot.com
เมทาวี กันเกลาloveaom40.blogspot.com
ด.ญ.นฤมล ราชสิงห์โหbaitong4875
ด.ญ.นฤมล ราชสิงห์โหbaitong4875.blogspot.com
สิรภพ ตั้งวัฒนากูลmos33819.blogspot.com
ทิพย์สุดา กล่อมสมร thipsuda-blogs.blogspot.com
ชนะวรรณ สวนมะลิchanawan-blog.blogspot.com
ชลลดา จันทร์แจ้งchonlada-blog.blogspot.com
ติณณ์ ศรีรุจิเมธากร
ณัฐชนนท์ ซิ้มเจริญvrzozaa21.blogspot.com
ตะวันฉาย พุ่มใบศรีhonza2548.blogspot.com
ณัฐศุภา ด้วงผลFern.natthansupa
ญาณิศา ปัญญาอิทธิกุลyanisa36421.blogspot.com
จักรภัทร คุ้มภัยjakkapat.3372.blogspot.com
จักรภัทร คุ้มภัยjakkapat3372
จักรภัทร คุ้มภัยjakkpat3372.blogspot.com
จักรภัทร คุ้มภัยjakkapat.3372.blogspot.com
จักรภัทร คุ้มภัยjakkapat3372.blogspot.com
ณัฐกิตติ์ สุรินทร์ nattakitblog.blogspot.com
รินรดา ยกกลิ่นrinradayokklin.blogspot.com
ธนภัทร ทองหนูsailom10219-blog.blogspot.com
จิดาภา ยิ้มย่องjhidapa-blog.blogspot.com
ธีรพัทร์ แย้มหัตถาstopptop-blog
เด็กหญิง ธนิดา เนื้อเกลี้ยงthanida841
จิราวรรณ ศรีคุณากร sj6854271.blogspot.com
คณิศร วังทองblog-ice
คณิศร วังทองblog-ice.blogspot.com
คณิศร วังทองice009-blog.blogspot.com
พัฒนวดี ไชยครุฑgrace40678.blogspot.com
พิมพ์ลภัส เสริฐสังวาลย์ pang2549-blog
ธีรภัทร วงค์ยะราteerapat147.blogspot.com
ณัฐนนท์ อิสระเสนารักษ์blog-noah123.blogspot.com
วันวิสาข์ สีผ่องใสgam.wanwisa.48
วันวิสาข์ สีผ่องใส gamwanwisa48blogspotcom.blogspot.com
รินรดี นิลขาวfailovefriend3024
รินรดี นิลขาวfailovefriend3024
กรกนก หลิมเล็กkornkanok-blog.blogspot.com
ปาณิตา คงสมพงษ์panita-blog.blogspot.com
ปาณิตา คงสมพงษ์panita12345.blogspot.com
ณัฐธิดา นิลวงศ์nattida0082.blogspot.com
ณัฐกมล เอี่ยมสะอาดBlogของน้องนิว.blogspot.com
พีระวิชญ์ งามวรัญญูfilm005-blog.blogspot.com
ปณกรณ์ มิตรดีTonnam0900.blogspot.com
ปณกรณ์ มิตรดีwww.Panakron1998-blog.com
พรสวรรค์ สุขประพันธ์www.tong1539-blog.com
พรสวรรค์ สุขประพันธ์tong1539-blog.blogspot.com

ธนภรณ์ อึงฤทธิเดช   tnanaphos-blog.blogspot.com

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ภาษาอังกฤษ


บทที่ 2 This/that/these/those

บทที่ 2 This/that/these/those


1. This และ That (นี่ และ นั่น)

เราจะใช้คำว่า This ในการบ่งบอกถึงสิ่งที่เป็นเอกพจน์ ที่อยู่ใกล้ผู้พูด หรืออยู่ที่ผู้พูด เช่น 
This is a pencil.(นี่คือดินสอแท่งหนึ่ง) แสดงว่าดินสอแท่งนี้จะต้องอยู่ใกล้ผู้พูด หรืออยู่ที่ผู้พูดเลย ในทางตรงกันข้ามกันเมื่อเราต้องการพูดถึงสิ่งที่เป็นเอกพจน์ที่อยู่ไกลผู้พูดออกไป เราจะใช้คำว่า That แทนเช่น That is a red car.(นั่นคือรถยนต์สีแดงคันหนึ่ง)


2. These และ Those (พวกนี้ หรือเหล่านี้ และ เหล่านั้น หรือพวกนั้น)

สำหรับการบ่งบอกถึงสิ่งที่เป็นพหูพจน์ หรือสิ่งที่มีจำนวนมากกว่า 1 ขึ้นไป เราจะใช้คำว่า These และ Those แทนเราจะใช้ These ในการบ่งบอกถึงสิ่งที่เป็นพหูพจน์ที่อยู่ใกล้ผู้พูด หรืออยู่ที่ผู้พูด เช่น 
These are my pencils. (เหล่านี้คือดินสอของฉัน) และในทำนองเดียวกัน เราจะใช้คำว่า Thoses ในการแทนถึงสิ่งที่เป็นพหูพจน์ที่อยู่ไกลผู้พูด เช่น Those are the fat dogs. (พวกนั้นเป็นหมาอ้วน)

สุขศึกษา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1ระบบอวัยวะของร่างกาย

สาระสำคัญ  การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายที่ประสานสัมพันธ์กันทุกระบบมีผลต่อการดำรงชีวิตหากระบบใดทำงานผิดปกติจะส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ด้วยระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อเป็นระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความรู้สึก การตอบสนองต่อสิ่งเร้าและการผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะในร่างกาย เราจึงควรเรียนรู้เห็นความสำคัญและปฏิบัติตนให้ถูกต้องเพื่อช่วยให้ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อสามารถทำงานได้ดีอย่างมีประสิทธิภาพ  à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ สุขศึกษา ม.1

สังคมศึกษา

หน้าที่ของพลเมืองดี
พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และกิจที่ควรทำ
หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวมแล้วแต่กรณี ถ้าไม่ทำหรือไม่ละเว้นการกระทำตามที่กำหนดจะได้รับผลเสียโดยตรง คือ ได้รับโทษ หรือถูกบังคับ เช่น ปรับ จำ คุก หรือประหารชีวิต เป็นต้น โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ต้องทำ ได้แก่ กฎหมาย เป็นต้น
กิจที่ควรทำ คือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ หรือละเว้นการกระทำ ถ้าไม่ทำหรือละเว้นการกระทำ จะได้รับผลเสียโดยทางอ้อม เช่น ได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือไม่คบค้าสมาคมด้วย ผู้กระทำกิจที่ควรทำจะได้นับการยกย่องสรรเสริญจากคนในสังคม โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ควรทำ ได้แก่วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้นผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสังคม

วิทยาศาสตร์

สสาร มี 4 สถานะ
สสารที่เรารู้จักในปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 4 สถานะด้วยกัน ได้แก่
1. ของแข็ง
ของแข็ง คือ สถานะที่สสารมีรูปร่างคงตัว ไม่แปรเปลี่ยนตามภาชนะ มีปริมาตรที่แน่นอน โมเลกุลอยู่ชิดกันมากและมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันสูง ของแข็งมักมีมีความหนาแน่นสูงกว่าสสารเดียวกันในสถานะอื่น ตัวอย่างของสสารที่มีสถานะเป็นของแข็งเช่น ไม้ ก้อนหิน เสาปูน ทองคำ น้ำแข็ง กระดาษ หลอดไฟ รองเท้า และอื่น ๆ
ของแข็ง
ถ่าน คือโมเลกุลของคาร์บอน (Carbon) ที่อยู่สถานะของแข็ง เช่นเดียวกับเพชรและกราไฟต์
2. ของเหลว
ของเหลว คือ สสารที่มีโมเลกุลอยู่ห่างกันมากกว่าสถานะของแข็ง แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโเลกุลก็น้อยกว่าด้วย โมเลกุลจึงมีอิสระในการเคลื่อนที่มากกว่า ของเหลวมีลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งที่ไม่พบในสถานะของแข็ง คือการไหล ซึ่งทำให้ของเหลวสามารถไหลได้ และมีรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุได้ ตัวอย่างของสสารในสถานะของเหลวเช่น น้ำ น้ำเชื่อม แอลกอฮอล์ล้างแผล ซีอิ้ว น้ำปลา ปรอทในเทอร์โมมิเตอร์ และน้ำมันพืช เป็นต้น
ของเหลว
น้ำดื่ม คือโมเลกุลของน้ำที่อยู่ในสถานะของเหลว
3. แก๊ส
แก๊ส หรือ ก๊าซ คือสถานะที่สสารมีโมเลกุลอยู่ห่างกันมาก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลต่ำมาก สามารถแพร่และฟุ้งกระจายในอากาศและภาชนะที่บรรจุได้ ตัวอย่างของสสารในสถานะแก๊ส เช่น แก๊สแอมโมเนีย ไอน้ำ แก๊สออกซิเจน เยี่ยวอูฐ (แก้อาการหน้ามืดเป็นลม) คาร์บอนไดออกไซ์ และกลิ่นน้ำหอมชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
แก๊ส
แก๊สออกซิเจน คือโมเลกุลของออกซิเจนที่อยู่ในสถานะแก๊ส
4. พลาสมา
พลาสมา คือสถานะหนึ่งของสสาร ซึ่งอยู่ในรูปแบบของแก๊สที่แตกตัวเป็นไออน มีคุณสมบัติการนำไฟฟ้า อันเนื่องมาจากสสารในสถานะนี้จะมีอิเล็กตรอนอย่างน้อย 1 ตัวที่ถูกดึงออกจากโมเลกุล และประจุไฟฟ้าอิสระทำให้พลาสมามีสภาพการนำไฟฟ้าเกิดขึ้น สาเหตุที่มีการแยกสถานะพลาสมาออกจากแก๊สก็เนื่องมาจากสถานะพลาสมานั้น มีคุณสมบัติที่แตกต่างออกไปจากสถานะแก๊ส ของเหลว และของแข็งอย่างชัดเจนนั่นเอง
พลาสมา
โมเลกุลไฮโดรเจนและฮีเลี่ยมที่ผิวของดวงอาทิตย์ อยู่ในสถานะพลาสมา